| |
จำแนกเวทนาโดยนัยต่าง ๆ   |  

เวทนา ๒ [โดยทวาร] คือ

๑] เวทนาทางกาย ๒] เวทนาทางใจ

เวทนา ๓ [โดยลักษณะการเสวยอารมณ์] คือ

๑] สุขเวทนา ๒] ทุกขเวทนา ๓] อทุกขมสุขเวทนา

เวทนา ๕ [โดยประเภทแห่งอินทรีย์] คือ

๑] สุขินทริย์ ๒] ทุกขินทรีย์

๓] โสมนัสสินทรีย์ ๔] โทมนัสสินทรีย์

๕] อุเบกขินทรีย์

เวทนา ๖ [โดยผัสสะ] คือ

๑] จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๒] โสตสัมผัสสชาเวทนา

๓] ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๔] ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา

๕] กายสัมผัสสชาเวทนา ๖] มโนสัมผัสสชาเวทนา

เวทนา ๑๘ หมายถึง เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๖ ทวารละ ๓ คือ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา

เวทนา ๓๖ หมายถึง เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๖ ทวารละ ๖ คือ

โสมนัสสเวทนาอาศัยเรือน ๖โสมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖

โทมนัสสเวทนาอาศัยเรือน ๖ โทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖

อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖

พึงทราบเวทนา ๑๐๘ หมายถึง เวทนา ๓๖ นั่นแหละ ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ อดีตกาล ๓๖ อนาคตกาล ๓๖ และปัจจุบันกาลอีก ๓๖


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |