| |
มลทิน ๘ ประการ   |  

๑. การไม่หมั่นสาธยาย เป็นมลทินของมนต์

๒. การไม่หมั่นรักษา เป็นมลทินของบ้าน

๓. ความเกียจคร้าน เป็นมลทินของผิวพรรณ

๔. ความพลั้งเผลอ เป็นมลทินของผู้รักษา [สติ]

๕. ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของสตรี

๖. ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้

๗. บาปธรรมทั้งหลาย เป็นมลทินโดยแท้

๘. อวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็นมลทินอย่างยิ่ง

สมดังพระพุทธภาษิตที่มาในมลสูตร พระสุตตันตปิฎก มหาวรรค ปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “การไม่สาธยายเป็นมลทินของมนต์ การไม่หมั่นรักษาเป็นมลทินของบ้าน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความพลั้งเผลอเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของสตรี ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ บาปธรรมทั้งหลายเป็นมลทินโดยแท้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราขอบอกสิ่งที่เป็นมลทินยิ่งกว่ามลทินใด ๆ ดังกล่าวแล้วนั้น คือ อวิชชาคือความไม่รู้เป็นมลทินอย่างยิ่ง”


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |