| |
ความเกิดขึ้นของโทสมูลจิต   |  

เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโทสมูลจิตแต่ละดวงนั้น ย่อมมีเหตุปัจจัย จำกัดเฉพาะบางอย่าง ซึ่งน้อยกว่าในโลภมูลจิต เพราะว่า เมื่อว่าโดยเวทนามีอย่างเดียวกัน คือ โทมนัสสเวทนา เมื่อว่าโดยสัมปโยคะ ก็มีอย่างเดียวกัน คือ ปฏิฆสัมปยุตต์ จึงไม่มีความต่างกันในเรื่องเวทนาและสัมปโยคะ แต่มีความต่างกันตรงที่เป็นอสังขาริกจิตดวงหนึ่ง และเป็นสสังขาริกจิตดวงหนึ่ง เท่านั้น

เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจในเรื่องเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโทสมูลจิตเหล่านี้ โดยนำมาจัดเข้าเป็นองค์ประกอบร่วมกัน เพื่ออธิบายหรือทำความเข้าใจ ก็จะมีความเข้าใจในเรื่องโทสมูลจิตได้กว้างขวางยิ่งขึ้น สามารถหาทางป้องกันหรือแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยง หรือตัดเหตุปัจจัย ที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือตัดออกไปได้ หรือสามารถแก้ไขได้ทันการณ์ ก็จะเป็นการกำจัดอุปนิสัยโทสจริต ทำให้โทสะมีสภาพเบาบางและลดน้อยลงไปโดยลำดับ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |