| |
ประเภทของสัททะ   |  

คำว่า สัททะ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมมี ๒ ประเภท คือ

๑. สัททารมณ์ หมายถึง อารมณ์คือเสียง ได้แก่ สัททรูปที่เป็นอารมณ์แก่ โสตวิญญาณจิต ๒ และโสตทวาริกจิตอื่น ๆ เพราะฉะนั้น สัททารมณ์คือเสียงต่าง ๆ ก็ได้แก่ เสียงที่กระทบกับประสาทหู ทำให้เกิดโสตวิญญาณจิต คือ การได้ยินเสียง ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ปรากฏแก่โสตทวารวิถีจิตหรือโสตทวาริกจิต ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] ทางโสตทวารอย่างเดียวเท่านั้น

๒. สัททบัญญัติ หมายถึง เสียงที่สมมุติเรียกขานกันในหมู่สังคมหนึ่ง ๆ หรือประเทศหนึ่ง ๆ เป็นต้น เพื่อสื่อความหมายร่วมกันเท่านั้น ซึ่งหมายถึงเสียงทั้งหมด ทั้งเสียงของคน เสียงสัตว์ และเสียงของสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลาย ที่สมมุติเรียกกันว่า เสียงคน เสียงสัตว์ เสียงลม เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น โดยผ่านการรับรู้ทางมโนทวารวิถีแล้วสมมุติเรียกเป็นเสียงต่าง ๆ ตามภาษาของสังคมหรือของประเทศนั้น ๆ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |