| |
คุณสมบัติพิเศษของเตโชธาตุ   |  

อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี อดีตประธานมูลนิธิแนบ มหานีรานนท์ และมูลนิธิสถานที่ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทรุ.๙๑ ได้แสดงคุณสมบัติพิเศษของเตโชธาตุไว้ดังต่อไปนี้

๑. อุณฺหสีตตฺตลกฺขโณ มีความร้อนหรือความเย็น เป็นลักษณะ

๒. ปริปาจกรโส มีการทำให้สุกงอม เป็นกิจ

๓. มทฺทวานุปฺปาทนปจฺจุปฏฺาโน มีการทำให้อ่อนนุ่ม เป็นผลปรากฏ

๔. อวเสสธาตุตฺตยปทฏฺาโน มี [มหาภูต] ธาตุที่เหลือทั้ง ๓ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

คำอธิบายเพิ่มเติมของผู้เขียน :

เตโชธาตุมีสภาวะลักษณะพิเศษเฉพาะตน เรียกว่า วิเสสลักษณะ มี ๔ ประการ มีลักษณะ เป็นต้น จึงเรียกว่า ลักขณาทิจตุกกะ คือ

๑. อุณฺหสีตตฺตลกฺขโณ มีความร้อนหรือความเย็น เป็นลักษณะ หมายความว่า ในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ตลอดถึงในสรรพสิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมมีอุณหภูมิเป็นองค์ประกอบแทรกซ้อนรวมอยู่ด้วยทุกอณูหรือปรมาณู อุณหภูมินั้น ก็คือ ไออุ่นหรือความร้อนและความเย็น ซึ่งอุณหภูมินั้น ก็ได้แก่ เตโชธาตุ นั้นเอง อุณหภูมิที่เป็นความร้อน เรียกว่า อุณหเตโช ส่วนอุณหภูมิที่เป็นความเย็น เรียกว่า สีตเตโช เพราะฉะนั้น เตโชธาตุจึงเป็นส่วนประกอบของร่างกายของมนุษย์และของสัตว์ทั้งหลาย ตลอดทั้งเป็นส่วนประกอบของสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นย่อมมีอุณหภูมิประจำตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิไปตามสภาพแวดล้อมก็ตาม แต่สภาพอุณหภูมิเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เป็นสภาพแห่งเตโชธาตุ ซึ่งได้แก่ ความร้อนและความเย็น จะร้อนมากหรือร้อนน้อย จะเย็นมากหรือเย็นน้อย ก็ล้วนแต่เป็นสภาพแห่งเตโชธาตุทั้งสิ้น

๒. ปริปาจกรโส มีการทำให้สุกงอม เป็นกิจ หมายความว่า สภาพแห่งเตโชธาตุนั้น ย่อมมีหน้าที่ในการเผาผลาญสิ่งต่าง ๆ ทำให้สุกงอมและอ่อนนุ่ม ไม่ว่าจะเป็นอุณหเตโชคือความร้อนก็ตาม หรือสีตเตโชคือความเย็นก็ตาม สภาพความร้อนที่ทำให้สรรพสิ่งสุกงอมและอ่อนนุ่มนั้น สามารถมองเห็นกันได้ง่ายและเห็นกันอยู่โดยทั่วไป ดังที่เห็นไฟเผาไหม้สิ่งต่าง ๆ ให้ย่อยยับฉิบหายไป แม้สิ่งนั้นจะแข็งแกร่งเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อถูกเผาหลอมด้วยไฟที่มีอุณหภูมิความร้อนสูงแล้ว สิ่งนั้น ๆ ย่อมหลอมละลายกลายเป็นของเหลวอ่อนนุ่มหรือไหม้ย่อยยับเหลือแต่ขี้เถ้าที่มีสภาพอ่อนนุ่มเช่นเดียวกัน ไม่สามารถต้านทานได้ โดยเฉพาะไฟบรรลัยกัลป์ แม้ผืนโลกจักรวาลทั้งปวงจะประกอบด้วยสิ่งที่แข็งแกร่งเพียงใด แต่เมื่อถูกไฟบรรลัยกัลป์เผาทำลายแล้ว ย่อมแตกทำลายย่อยยับหมดสิ้นไป โดยไม่มีเหลือสิ่งใดแม้เท่าเมล็ดทราย ส่วนสีตเตโชที่มีสภาพเผาผลาญทำให้สิ่งต่าง ๆ อ่อนนุ่มนั้น เห็นกันได้ยาก แต่สามารถพิจารณาเห็นได้ เช่น ในการปรุงอาหาร เป็นต้น อาหารบางอย่างย่อมทำให้สุกและอ่อนนุ่มด้วยอุณหเตโชคือความร้อน แต่มีอาหารหรือขนมหลายอย่าง ที่ต้องใช้สีตเตโชคือความเย็นในการทำให้สุก จึงจะมีรสชาติอร่อยได้ อนึ่ง สิ่งของหลายอย่าง เมื่อนำไปแช่ไว้ในตู้แช่หรือตู้เย็นที่มีอุณหภูมิความเย็นพอเหมาะแล้ว ย่อมจะรักษาความสดความอ่อนนุ่มไว้ได้นานตามสมควรแก่เหตุปัจจัยของสิ่งนั้น ๆ ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า สภาพแห่งเตโชธาตุนี้ย่อมมีหน้าที่ในการทำให้สิ่งต่าง ๆ สุกงอมและอ่อนนุ่มด้วยกันทั้งสิ้น

๓. มทฺทวานุปฺปาทนปจฺจุปฏฺาโน มีการทำให้อ่อนนุ่ม เป็นผลปรากฏ หมายความว่า สภาพปรากฏแห่งเตโชธาตุนั้น ย่อมทำให้สิ่งต่าง ๆ มีสภาพอ่อนนุ่ม ไม่ว่าเตโชธาตุนั้น จะเป็นอุณหเตโชคือความร้อนก็ตาม หรือสีตเตโชคือความเย็นก็ตาม เมื่อได้ทำการเผาผลาญสิ่งต่าง ๆ แล้ว ย่อมทำให้สิ่งนั้น ๆ มีสภาพอ่อนนุ่ม บรรเทาความแข็งกระด้างลง แม้สิ่งนั้นจะแข็งแกร่งเพียงใดก็ตาม เมื่อถูกหลอมละลายหรือเผาผลาญจากเตโชธาตุแล้ว สิ่งนั้น ๆ ย่อมทนแข็งกระด้างอยู่ไม่ได้ ต้องหลอมละลายหรือไหม้สลายกลายเป็นขี้เถ้าที่อ่อนนุ่มไปในที่สุด เพราะฉะนั้น ผลที่ปรากฏในการทำหน้าที่ของเตโชธาตุนั้น ก็คือ ย่อมทำให้สิ่งต่าง ๆ หลอมละลายอ่อนตัวลงหรือพังทลายฉิบหายไปในที่สุด

๓. มทฺทวานุปฺปาทนปจฺจุปฏฺาโน มีการทำให้อ่อนนุ่ม เป็นผลปรากฏ หมายความว่า สภาพปรากฏแห่งเตโชธาตุนั้น ย่อมทำให้สิ่งต่าง ๆ มีสภาพอ่อนนุ่ม ไม่ว่าเตโชธาตุนั้น จะเป็นอุณหเตโชคือความร้อนก็ตาม หรือสีตเตโชคือความเย็นก็ตาม เมื่อได้ทำการเผาผลาญสิ่งต่าง ๆ แล้ว ย่อมทำให้สิ่งนั้น ๆ มีสภาพอ่อนนุ่ม บรรเทาความแข็งกระด้างลง แม้สิ่งนั้นจะแข็งแกร่งเพียงใดก็ตาม เมื่อถูกหลอมละลายหรือเผาผลาญจากเตโชธาตุแล้ว สิ่งนั้น ๆ ย่อมทนแข็งกระด้างอยู่ไม่ได้ ต้องหลอมละลายหรือไหม้สลายกลายเป็นขี้เถ้าที่อ่อนนุ่มไปในที่สุด เพราะฉะนั้น ผลที่ปรากฏในการทำหน้าที่ของเตโชธาตุนั้น ก็คือ ย่อมทำให้สิ่งต่าง ๆ หลอมละลายอ่อนตัวลงหรือพังทลายฉิบหายไปในที่สุด


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |