| |
จริต ๖   |  

จริต แปลว่า ความประพฤติ ได้แก่ นิสัยที่สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน มี ๖ อย่างคือ

๑. ราคจริต มีนิสัยรักสวยรักงาม ชอบความสะอาดเรียบร้อย

๒. โทสจริต มีนิสัยมักหงุดหงิดรำคาญง่าย ไม่เรียบร้อย

๓. โมหจริต มีนิสัยจับจด เซื่องซึม เอาอะไรแน่นอนไม่ได้

๔. วิตกจริต มีนิสัยชอบคิดวิตกกังวลจนเกินไป

๕. สัทธาจริต มีนิสัยเชื่อง่ายมักน้อมใจไปในสิ่งที่ควรเชื่อเสมอ

๖. พุทธิจริต มีนิสัยชอบคิดพิจารณาหาเหตุผล ไม่เชื่ออย่างงมงาย

ในการเจริญสมถกรรมฐานนั้น ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับจริตเป็นอย่างมาก คือ ต้องสังเกตพิจารณาดูว่า ตนเองมีพฤติกรรมหนักไปในทางจริตประเภทใด แล้วจึงเลือกอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนั้น ๆ เพื่อเป็นอุปการะในการเจริญสมถกรรมฐานได้อย่างถูกต้องและสะดวกยิ่งขึ้น หรือสามารถทำให้ฌานเกิดได้ [ถ้าเป็นผู้มีบุญญาธิการได้สั่งสมมาในเรื่องฌานนั้นถึงพร้อมแล้ว]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |