| |
หน้าที่ของโลกุตตรจิต   |  

โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวงทั้งหมด ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน คือ ชวนกิจ ได้แก่ การเสพอารมณ์พระนิพพาน

มรรคจิต ๔ หรือ ๒๐ เสพพระนิพพานโดยความเป็นกุศล พร้อมกับการประหาณอนุสัยกิเลสให้หมดไปจากขันธสันดาน ตามสมควรแก่กำลังอำนาจของตนที่สามารถจะประหาณได้ [ยกเว้นสกิทาคามิมรรคที่สามารถประหาณได้เพียงทำให้เบาบางลง เรียกว่า ตนุกรปหาน เท่านั้น]

ผลจิต ๔ หรือ ๒๐ เสพพระนิพพานโดยความเป็นวิบาก เพื่อเสวยสุขในอารมณ์พระนิพพาน หลังจากมรรคจิตได้ประหาณอนุสัยกิเลสเสร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า เสวยวิมุตติสุข


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |