| |
เหตุปัจจัยแห่งมหากุศลจิต   |  

มหากุศลจิตอาศัยธรรม ๓ ประการ เป็นตัวจำแนก ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีสภาพที่แตกต่างกันออกไป เป็น ๘ ดวง หรือ ๘ สภาวะ กล่าวคือ

๑. จำแนกโดยเวทนา มี ๒ อย่าง คือ

๑] เป็นโสมนัสสเวทนา เรียกว่า โสมนัสสสหคตัง แปลว่า จิตที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา จึงชื่อว่า โสมนัสสสหคตจิต มี ๔ ดวง

๒] เป็นอุเบกขาเวทนา เรียกว่า อุเปกขาสหคตัง แปลว่า จิตที่สหรคตจิ.๑๑ ด้วยอุเบกขาเวทนา จึงชื่อว่า อุเบกขาสหคตจิต มี ๔ ดวง

๒. จำแนกโดยสัมปโยคะ มี ๒ อย่าง คือ

๑] เป็นญาณสัมปยุตต์ เรียกว่า ญาณสัมปยุตตัง แปลว่า จิตที่ประกอบด้วยปัญญา จึงชื่อว่า ญาณสัมปยุตตจิต มี ๔ ดวง

๒] เป็นญาณวิปปยุตต์ เรียกว่า ญาณวิปปยุตตัง แปลว่า จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงชื่อว่า ญาณวิปปยุตตจิต มี ๔ ดวง

๓. จำแนกโดยสังขาร มี ๒ อย่าง คือ

๑] เป็นอสังขาริก เรียกว่า อสังขาริกัง แปลว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการชักชวน จึงชื่อว่า อสังขาริกจิต มี ๔ ดวง

๒] เป็นสสังขาริก เรียกว่า สสังขาริกัง แปลว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยมีการชักชวน จึงชื่อว่า สสังขาริกจิต มี ๔ ดวง

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มหากุศลจิต มี ๘ ดวง ดังนี้





เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |