| |
มนสิการเจตสิก   |  

มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ชักนำสัมปยุตตธรรมให้มุ่งสู่อารมณ์ หมายความว่า มนสิการเจตสิกเมื่อเกิดขึ้น ย่อมชักนำหรือเหนี่ยวนำสัมปยุตตธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับตนให้มุ่งตรงไปสู่อารมณ์ หรือให้รับอารมณ์นั้น ๆ ที่ปรากฏทางทวารต่าง ๆ ไม่ให้หันเหไปทางอื่น เปรียบเหมือนฝีพายหน้าของเรือพาย ในการแข่งขัน ฝีพายหน้าย่อมเป็นผู้นำในการยกไม้พายและการพายอย่างเป็นจังหวะ ลูกพายหลัง ๆ ต้องยกและพายไปตามฝีพายหน้า เรือจึงจะสามารถวิ่งไปได้อย่างสม่ำเสมอ ถ้าพายไม่เป็นจังหวะพร้อมเพรียงกัน เรือย่อมแล่นไปไม่สม่ำเสมอ อาจมีอาการโยกโคล้งและล่มได้ ฉันใด มนสิการเจตสิกก็เช่นเดียวกัน เป็นผู้นำจิตและเจตสิกอื่น ๆ ให้มุ่งสู่อารมณ์และกำกับควบคุมให้จิตและเจตสิกทั้งหลายเป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อารัมมะเณสุ สัมปะยุตตะธัมเม สะมัง มะนะสิกะโรตีติ มะนะสิกาโร [วา] อารัมมะเณสุ สัมปะยุตตะธัมเม สะมัง ปะวัตเตตีติ มะนะสิกาโร” แปลความว่า ธรรมชาติที่กระทำให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย มีความสม่ำเสมอกันในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มนสิการ [อีกนัยหนึ่ง] ธรรมชาติที่กระทำให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย สามารถเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอกันในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มนสิการ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |