| |
อานิสงส์ของการเว้นจากอทินนาทาน ๑๑ ประการ

๑. มะหัทธะนะตา ทำให้เป็นผู้มีทรัพย์มาก

๒. ปะหูตะธัญญะตา ทำให้มีข้าวปลาอาหารพอเพียงต่อการบริโภค

๓. อะนันตะโภคะตา ทำให้มีโภคทรัพย์นับอนันต์

๔. อะนุปปันนะโภคุปปัตติตา ทำให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่เคยได้

๕. อุปปันนะโภคะถาวะระตา ทำให้โภคทรัพย์ที่ได้แล้วอยู่ยั่งยืนถาวร

๖. อิจฉิตานัง โภคานัง ขิปปะปะฏิลาภะตา ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาโดยเร็วพลันสมดังใจนึก

๗. ราชะโจรุทะกัคคิอัปปิยะทายาทาทีหิ อะสาธาระณะโภคะตา สมบัติไม่ฉิบหายไปด้วยราชภัย โจรภัย อัคคีภัย และเหล่าทายาทผู้ไม่เป็นที่รักทั้งหลาย เป็นต้น

๘. อะสาธาระณะปะฏิลาภะตา หาสมบัติได้โดยไม่ถูกแย่งชิงเอาไป

๙. โลกุตตะระธะนะปะฏิลาภะตา มีโอกาสได้โลกุตตรทรัพย์ในที่สุด

๑๐. นัตถิภาวัสสะ อะชานะนะตา อะสะวะนะตา ไม่ได้พบ ไม่ได้ยินคำว่า ไม่มี

๑๑. สุขะวิหาริตา ย่อมอยู่เป็นสุขในที่ทุกสถาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |