| |
อานิสงส์การนอบน้อมพระรัตนตรัย ๑๐ ประการ   |  

๑. อันตะรายะนิวาระณัง สามารถป้องกันอันตรายทั้งปวงได้

๒. คันถะปะริยาปะนัง สามารถแต่งปกรณ์ลุล่วงไปได้ด้วยดี

๓. คันถะอุคคะหะณาทิกะระณัง ทำให้การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสำเร็จได้ด้วยดี

๔. โสตุชะนะสะมุสสาหะชะนะนัง ทำให้ผู้ศึกษาเกิดความอุตสาหะ มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

๕. โวหาระสุขัง ทำให้สามารถท่องชื่อคัมภีร์และศัพท์ต่าง ๆ ได้คล่องปากและจำได้ขึ้นใจ

๖. ธัมมะสะรูปาทิวะโพธัง ทำให้รู้สภาพของรูปนามโดยสังเขปได้ อันเป็นอุปการะในเบื้องต้น ที่จะเจริญวิปัสสนาต่อไป

๗. ยะถาภูตะญาณัง ทำให้รู้รูปนามโดยสภาวธรรมตามความเป็นจริง ที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ

๘. นิพพิทาญาณัง ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามด้วยญาณปัญญา ที่รู้แจ่มแจ้งในสภาพของรูปนามโดยลำดับนั้น

๙. วิราคะญาณัง เป็นปัจจัยให้มุ่งมั่นในการปฏิบัติวิปัสสนา จนได้มรรคญาณ เป็นเหตุให้สำรอกความกำหนัดออกเสียได้

๑๐. วิมุตติญาณัง ทำให้ได้ผลญาณ สืบต่อจากมรรคญาณ เป็นเหตุให้ถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |