| |
อนาคามิมรรคจิต   |  

อนาคามิมรรคจิต หมายถึง จิตที่ทำบุคคลให้เข้าถึงความเป็นผู้ที่ไม่ต้องกลับมาปฏิสนธิในกามโลกอีกแล้ว จึงชื่อว่า อนาคามี

คำว่า อนาคามิมรรค มาจากคำว่า น+อาคามี+มรรค

แปลว่า ไม่

อาคามี แปลว่า ผู้กลับมา

มรรค แปลว่า หนทาง หรือการประหาณกิเลสเป็นเหตุ [ให้]

เมื่อรวมกันแล้วเป็น อนาคามิมรรค แปลว่า หนทางของบุคคลผู้ไม่กลับมาสู่กามโลกอีกแล้ว หรือการประหาณกิเลสเป็นเหตุให้บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาสู่กามโลกอีกแล้ว หมายความว่า เป็นผู้ที่จะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ จนกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในสุทธาวาสภูมินั้นเลย

อนาคามิมรรคจิต เมื่อเกิดขึ้นย่อมให้สำเร็จกิจ ๓ ประการ คือ

๑. ทำให้บุคคลนั้น ได้ชื่อว่า อนาคามิมรรคบุคคล

๒. อนาคามิมรรคจิต เกิดขึ้นเพื่อทำบุคคลให้ข้ามพ้นจากการต้องกลับมาเกิดในกามโลก หมายความว่า เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในกามโลกอีกอย่างแน่นอน แต่จะไปเกิดในพรหมโลก [สุทธาวาสภูมิ ๕ ตามสมควร] และจะได้บรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผลในพรหมโลกนั้น แล้วเข้าสู่ปรินิพพาน

๓. อนาคามิมรรคจิต เกิดขึ้นเพื่อประหาณกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยโดยเด็ดขาด เรียกว่า สมุจเฉทปหาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |