| |
ธรรมชาติของจิต   |  

จิตนี้ย่อมมีบทบาทหน้าที่และความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดพิจารณาเห็นความสำคัญของจิตที่ว่าเป็นใหญ่เป็นประธานในธรรมทั้งปวงได้ ๓ ประการ คือ

๑. มีการรับอารมณ์อยู่เสมอ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรับอารมณ์ทางทวาร ๖ อยู่เสมอ แล้วแต่อารมณ์จะเกิดปรากฏทางทวารใด แม้ในเวลาหลับ ภวังคจิตก็รับอารมณ์ที่มรณาสันนวิถีจิต [วิถีจิตในเวลาใกล้ตายในชาติก่อน] รับเอามา ในบรรดาอารมณ์ ๓ อย่าง คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยไป จึงได้ชื่อว่า มีการรับอารมณ์อยู่เสมอ

๒. เป็นเหตุให้เจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์ได้คล้าย ๆ กับผู้นำ หมายความว่า จิตนี้เป็นใหญ่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง ถึงแม้ว่า เจตสิกทั้งหลายจะเป็นตัวปรุงแต่งจิตให้สามารถรับรู้อารมณ์และมีสภาพหลากหลายออกไปก็ตาม แต่เจตสิกทั้งหลาย ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของจิต คือ จิตรับอารมณ์อย่างไร เจตสิกก็ต้องรับอารมณ์อย่างนั้นด้วย เช่น จิตรับรูป [สีต่าง ๆ] เป็นอารมณ์ เจตสิกทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับจิตดวงนั้น ก็ต้องรับรูป [สีต่าง ๆ] เป็นอารมณ์ด้วย จะไปรับเสียงหรือรับอารมณ์อย่างอื่นที่ต่างจากจิตดวงนั้นรับอยู่ไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น

๓. ทำให้สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตวิจิตรพิสดาร หมายความว่า เมื่อจิตมีการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับจิต กล่าวคือ เจตสิกทั้งหลายนั้น ย่อมจะทำหน้าที่ในการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของอารมณ์นั้นไว้ ทำให้เกิดความรู้ที่วิจิตรพิสดารออกไปมากมาย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |