| |
อานิสงส์ของการเว้นจากมุสาวาท ๑๔ ประการ   |  

ในสิกขาปทวัณณนา อรรถกถาปรมัตถโชติกา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ท่านพระอรรถกถาจารย์ได้แสดงอานิสงส์ของการเว้นจากมุสาวาทไว้ ๑๔ ประการรุ.๓๘๐ คือ

๑. วิปฺปสนฺนินฺทฺริยตา มีอินทรีย์ [ร่างกายและจิตใจ] ผ่องใส

๒. วิสฺสฏฺมธุรภาณิตา มีวาจาไพเราะสละสลวย

๓. สมสิตสุทฺธทนฺตตา มีไรฟันเสมอชิดเรียบสนิทดี

๔. นาติถูลตา ไม่อ้วนเกินไป

๕. นาติกีสตา ไม่ผอมเกินไป

๖. นาติรสฺสตา ไม่เตี้ยเกินไป

๗. นาติทีฆตา ไม่สูงเกินไป

๘. สุขสมฺผสฺสตา มีสัมผัสสบาย

๙. อุปฺปลคนฺธมุขตา มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว

๑๐. สุสฺสูสกปริชนตา มีบริวารชนล้วนแต่เชื่อฟัง

๑๑. อาเทยฺยวจนตา มีถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ

๑๒. กมลุปฺปลทลสทิสมุทุโลหิตตนุชิวฺหตา มีลิ้นบางสีแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกอุบลแดง

๑๓. อนุทฺธตตา มีใจไม่ฟุ้งซ่าน

๑๔. อปคตมมฺมนตา ไม่เป็นคนติดอ่าง [ไม่เป็นใบ้]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |