| |
การปรากฏเป็นอารมณ์แก่มโนทวารวิถีของอาหารรูป   |  




คำอธิบายเพิ่มเติมของผู้เขียน :

อาหารรูปนี้มีสภาพเป็นธัมมารมณ์ คือ อารมณ์ที่รับรู้ได้ทางใจอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถรับรู้สภาวะของอาหารรูปนี้ทางปัญจทวาร ทวารใดทวารหนึ่งได้เลย เพราะสภาวะของอาหารรูปนี้เป็นสภาพที่หล่อเลี้ยงรูปที่เกิดพร้อมกันในกลาปเดียวกันให้ดำรงอยู่ได้ เป็นรูปที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานอยู่โดยเฉพาะ เป็นเพียงสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดซึ่งซึมซาบ อยู่ในรูปกลาปหนึ่ง ๆ ตามสมุฏฐานของตน บุคคลทั้งหลายจึงไม่สามารถรับรู้สภาพแห่งอาหารรูปโดยทวารทั้ง ๕ มีจักขุทวารเป็นต้นได้ เพียงแต่รับรู้สึกทางมโนทวารเท่านั้นว่า “สิ่งนั้นมีอยู่” ซึ่งเป็นความรู้สึกเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นเจ้าของอาหารรูปเท่านั้น ส่วน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ย่อมสามารถรู้ถึงสภาวะแห่งอาหารรูปของสัตว์ทั้งหลาย [ที่มีรูป] และอาหารรูปที่เกิดอยู่ในสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายได้ ซึ่งความรู้สึกถึงสภาพแห่งอาหารรูปที่ปรากฏทางมโนทวารนั้น มีลำดับความเป็นไปดังที่ได้แสดงไปแล้วในรูปธรรมที่เป็นธัมมารมณ์รูปก่อน ๆ มีอาโปธาตุ เป็นต้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |