| |
ตทาลัมพนจิตกับอารมณ์   |  

ตทาลัมพนจิต ๑๑ ดวงนี้ ย่อมเป็นไปตามสภาพของอารมณ์เช่นเดียวกัน คือ

๑. เมื่อกามชวนจิตเสพสภาวอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาโดยสภาวะอันเป็นผลของอกุศลกรรมแล้ว ตทาลัมพนจิตที่เกิดต่อต้องเป็นอกุศลวิปากจิต ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิปากจิต ๑ ดวงเท่านั้น

๒. เมื่อกามชวนจิตเสพสภาวอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนาโดยสภาวะระดับปานกลางอันเป็นผลของกุศลกรรมแล้ว ตทาลัมพนจิตที่เกิดต่อต้องเป็นตทาลัมพนจิตที่เป็นกุศลวิบากซึ่งเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ๕ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิปากจิต ๑ มหาวิบากอุเบกขา ๔ ดวง

๓. เมื่อกามชวนจิตเสพสภาวอติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนาอย่างยิ่งโดยสภาวะอันเป็นผลของกุศลกรรมแล้ว ตทาลัมพนจิตที่เกิดต่อต้องเป็น ตทาลัมพนจิตที่เป็นกุศลวิบากซึ่งเกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ๕ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง ได้แก่ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ มหาวิบากโสมนัส ๔ ดวง

สรุปความแล้ว

ตทาลัมพนจิต ที่เป็นอกุศลวิบาก ย่อมมีกามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

ตทาลัมพนจิต ที่เป็นกุศลวิบากที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ย่อมมีกามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนาระดับปานกลาง

ตทาลัมพนจิต ที่เป็นกุศลวิบากที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ย่อมมีกามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนาอย่างยิ่ง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |