| |
ความหมายของรสรูป   |  

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนีรุ.๒๒๑ ได้แสดงความหมายของรสรูปไว้เพียงสั้น ๆ ดังต่อไปนี้

คำว่า รสะ [รสารมณ์คือรส] คือ รูปที่น่าปรารถนา

บทสรุปของผู้เขียน :

รสรูป ได้แก่ รสารมณ์คือรสต่าง ๆ หมายถึง สารของรสต่าง ๆ ที่กระทบกับชิวหาประสาท โดยอาศัยอาโปธาตุคือธาตุน้ำเป็นผู้นำพาไป ด้วยการซึมซาบและย่อยละลายเข้าไปกระทบกับชิวหาปสาทรูปดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดชิวหาวิญญาณ คือ การรู้รสต่าง ๆ ขึ้น รสะที่ปรากฏเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณจิต นี้ชื่อว่า รสารมณ์

อนึ่ง รสรูปหรือรสารมณนี้ ล้วนแต่เป็นที่น่าปรารถนาของสัตว์ทั้งหลาย กล่าวคือ สัตว์บางพวกชอบใจในรสเปรี้ยว สัตว์บางพวกชอบใจในรสหวาน สัตว์บางพวกชอบใจในรสมัน สัตว์บางพวกชอบใจในรสเค็ม สัตว์บางพวกชอบใจในรสเผ็ด และสัตว์บางพวกย่อมขอบใจในรสขม สัตว์บางพวกชอบใจในหลายรส เพราะรสทั้งหลายย่อมอยู่ในอาหารต่าง ๆ และบรรดาสัตว์ที่เป็นอยู่ได้เพราะอาหาร ย่อมต้องบริโภคอาหารเป็นประจำ เพราะฉะนั้น รสรูปจึงเป็นรูปที่น่าปรารถนาของสัตว์ทั้งหลายด้วย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |