| |
วรรณะ ๔   |  

ในกัณณกัตถลสูตร ได้แสดงเรื่องวรรณะไว้ ๔ วรรณรุ.๒๐๕ คือ

๑. กษัตริย์ ชนชั้นเจ้านาย เป็นชนชั้นปกครองหรือนักรบ

๒. พราหมณ์ ชนชั้นเจ้าตำรา เป็นเจ้าพิธี คือ พวกพราหมณ์

๓. แพศย์ ชนชั้นพ่อค้าและกสิกร

๔. ศูทร ชนชั้นต่ำ พวกกรรมกรรับจ้าง โดยใช้แรงงาน

คำว่า วรรณะ ในที่นี้ หมายถึง ชนชั้นของบุคคลในสังคมอินเดีย ซึ่งมี ๔ ชนชั้นหลักถ้าชนชั้นทั้ง ๔ นี้ได้เสียกันข้ามวรรณะ ก็จะถูกจัดเป็นอีกจำพวกหนึ่ง เรียกว่า จัณฑาล แปลว่า พวกเลวทราม ซึ่งถือว่า เป็นเสนียดจัญไร เป็นที่รังเกียจของวรรณะทั้ง ๔ โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในวรรณะสูง

คำว่า วรรณะ ในความหมายนี้ เป็นวรรณะที่เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่เป็นความหมายของวัณณรูปหรือรูปารมณ์แต่ประการใด


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |