| |
จำแนกรูป ๒๓ ที่เกิดในรูปภูมิ ๑๕ โดยสมุฏฐาน ๓   |  

รูปที่เกิดได้ในรูปภูมิ ๑๕ [เว้นอสัญญสัตตภูมิ] ทั้ง ๒๓ รูปนั้น เมื่อจำแนกโดยสมุฏฐานแล้ว ย่อมได้ ๓ สมุฏฐาน เว้นอาหารสมุฏฐาน เพราะพรหมทั้งหลายไม่ได้กินอาหารเหมือนอย่างมนุษย์หรือเทวดา พรหมทั้งหลายย่อมอิ่มอยู่ได้ด้วยปีติ เพราะฉะนั้น ปีติจึงเท่ากับเป็นอาหารของพวกพรหม ด้วยเหตุนี้ รูปทั้ง ๒๓ ที่เกิดกับรูปพรหมเหล่านั้น จึงไม่มีอาหารชรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐานอยู่ด้วยเลย

สำหรับสมุฏฐานทั้ง ๓ ที่เป็นปัจจัยให้รูปทั้ง ๒๓ เกิดได้นั้น มีดังต่อไปนี้

กัมมชรูป ย่อมเกิดได้ ๑๓ รูป [เว้นฆานะ ชิวหา กายะ และภาวรูป ๒]

จิตตชรูป ย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๑๕ รูป

อุตุชรูป ย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๑๓ รูป

ทั้ง ๓ สมุฏฐานิกรูปที่เกิดได้ในรูปภูมิ ๑๕ เหล่านี้ รวมเป็นรูปโดยพิสดาร ๔๑ รูป และเมื่อรวมลักขณรูป ๑๒ เข้าด้วยแล้ว จึงรวมเป็นจำนวนรูปที่เกิดได้ในรูปภูมิ ๑๕ [เว้น อสัญญสัตตภูมิ] โดยพิสดาร ๕๓ รูป แต่ถ้านับอย่างธรรมดาสามัญแล้ว ก็คงได้แก่ รูป ๒๓ นั่นเอง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |