| |
เปรียบเทียบเจตสิก ๕ ดวง เหมือนการแข่งเรือยาว   |  

เจตนาเจตสิก เปรียบเหมือนพนักงานเป่านกหวีดเป็นจังหวะ เพื่อกระตุ้นให้ฝีพายทั้งหมด พายเรือไปอย่างพร้อมเพรียงกันเป็นจังหวะ ไม่ลักหลั่นกัน

มนสิการเจตสิก เปรียบเหมือนฝีพายหน้า ที่มุ่งพายนำหน้าฝีพายคนอื่น ๆ ให้ฝีพายรองลงมาเร่งพายไปตามจังหวะของตน เพื่อมุ่งสู่เส้นชัยให้ได้

วิตกเจตสิก เปรียบเหมือนฝีพายรอง ที่ทำการพายเรือไปตามฝีพายหน้า เพื่อให้ฝีพายหลัง ๆ ได้พายตามอย่างเป็นจังหวะ

เอกัคคตาเจตสิก เปรียบเหมือนคนคัดท้ายเรือ ที่คอยคัดท้ายเรือไว้ ไม่ให้เรือหันเหไปทางอื่น และไม่โยกโคล้งเคล้ง ให้มีความตั้งมั่นและมุ่งตรงไปสู่เส้นชัยอย่างเดียว

ชีวิตินทริยเจตสิก เปรียบเหมือนพนักงานที่คอยบริการน้ำดื่ม ผ้าเย็น เป็นต้น แก่พนักงานอื่น ๆ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |