| |
ปฏิสัมภิทา ๔ ประการ   |  

ปฏิสัมภิทา หมายถึง ความแตกฉานด้วยอำนาจแห่งปัญญาญาณพิเศษของความเป็นพระอริยบุคคล ตามสมควรแก่บารมีธรรมของแต่ละท่าน มี ๔ ประการคือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักผลที่เกิดจากเหตุต่าง ๆ ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้สืบเนื่องมาจากเหตุอะไร

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในธรรม หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ผลเกิดขึ้นว่า เหตุอันนี้ย่อมทำให้ผลอย่างนี้เกิดขึ้น

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในนิรุตติ หมายถึง ความเป็นผู้รู้ในเรื่องภาษาต่าง ๆ มากมาย ทั้งภาษาคนและภาษาสัตว์ สามารถสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ตลอดถึงสัตว์ต่าง ๆ ได้ตามสมควรแก่กำลังบารมีของตน

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณ หมายถึง ความเป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถกล่าวโต้ตอบ แก้ปัญหาได้โดยไม่อับจนปัญญา


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |