| |
ฐานะของปัญญา มี ๖ ประการ   |  

๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตนเอง

๒. ฌานสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่รู้อุบาย ในการทำใจให้สงบจากนิวรณ์และความเป็นไปของฌานและองค์ฌาน ตลอดจนปัญญาในอภิญญาจิต

๓. วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่รู้เห็นรูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. มัคคสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่ทำกิจในการประหาณอนุสัยกิเลส โดย มีพระนิพพาน เป็นอารมณ์

๕. ผลสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่เสวยผลจากการที่มรรคญาณได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสแล้ว โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า “เสวยวิมุตติสุข

๖. ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นภายหลังมรรคญาณ ผลญาณดับลงแล้ว เพื่อพิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๕ อย่าง คือ

๑] กิเลสที่ละแล้ว

๒] กิเลสที่ยังเหลืออยู่ [สำหรับพระเสกขบุคคล ๓]

๓] มรรคจิต

๔] ผลจิต

๕] พระนิพพาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |