| |
จิตตชรูป ๗ ประเภท   |  

อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี อดีตประธานมูลนิธิแนบ มหานีรานนท์รุ.๕๕๑ ได้แสดงประเภทแห่งจิตตชรูปไว้ ดังต่อไปนี้

รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มี ๑๕ รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ โคจรรูป ๔ อาหารรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ เรียกว่า จิตตชรูป ๑๕ ซึ่งมีปฏิกิริยาเป็นไป ๗ ประเภท ตามสมควร คือ

๑. จิตตชรูปสามัญ

๒. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการหัวเราะ

๓. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการร้องไห้

๔. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถ

๕. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการพูด

๖. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔

๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น

ในจิตตชรูป ๗ ประเภทที่กล่าวมานี้ เมื่อว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์แล้ว ก็ได้แก่ จิตตชรูป ๑๕ นั่นเอง แต่ในจิตตชรูป ๑๕ เหล่านี้ รูปที่ปรากฏให้สังเกตรู้ได้ชัดเจน มี ๑๐ รูป คือ มหาภูตรูป ๓ [เว้นอาโป] วัณณรูป สัททรูป วิญญัติรูป ๒ และวิการรูป ๓ ส่วนรูปที่เหลืออีก ๕ คือ อาโป คันธรูป รสรูป อาหารรูป และปริจเฉทรูป เหล่านี้ ย่อมไม่ปรากฏให้สังเกตรู้ได้ชัดเจน กล่าวคือ ไม่สามารถมองเห็นได้ ไม่สามารถได้ยินได้ และไม่สามารถสัมผัสถูกต้องได้นั่นเอง

ต่อไปนี้ จะได้อธิบายขยายความหมายของจิตตชรูป ๗ ประเภท ตามลำดับต่อไป


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |