| |
อานิสงส์ของการเจริญกรุณา ๑๑ ประการ   |  

กรุณาพรหมวิหาร ที่บุคคลเจริญให้มาก ทำให้ไพบูลย์แล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

๑. สุขํ สุปติ หลับเป็นสุข

๒. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ ตื่นเป็นสุข

๓. น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ ไม่ฝันร้าย

๔. มนุสฺสานํ ปิโย โหติ เป็นที่รักของมนุษย์

๕. อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ เป็นที่รักของอมนุษย์

๖. เทวตา รกฺขนฺติ เทวดารักษาคุ้มครอง

๗. นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมฺติ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราวุธ ทำอันตรายไม่ได้

๘. ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็ว

๙. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ สีหน้าเปล่งปลั่ง

๑๐. อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ ไม่หลงตาย [ไม่มีสติฟั่นเฟือน ทำกาลกิริยา]

๑๑. อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมชั้นสูง ก็จะได้เป็นผู้เข้าถึง [เกิดใน] พรหมโลก


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |