| |
ความแตกต่างกันในเรื่องอุปนิสัยของสัตว์   |  

ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแตกต่างกันทางด้านผิวพรรณวรรณะ ความสุขความทุกข์และอุปนิสัยจิตใจ ซึ่งอุปนิสัยจิตใจนั้น เป็นผลโดยตรงของกุศลหรืออกุศลที่ตนเองได้สั่งสมไว้แต่ปางก่อน สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้

๑. ผู้ใด มีโลภะ อโทสะ อโมหะ แรงกล้า แต่มีอโลภะ โทสะ โมหะ อ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักได้ ชอบสบาย แต่ไม่มักโกรธ และเป็นคนมีปัญญาดี

๒. ผู้ใดมีโลภะ โทสะ และอโมหะ แรงกล้า แต่มีอโลภะ อโทสะ และโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักได้ และมีนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย แต่เป็นคนมีปัญญาดี

๓. ผู้ใด มีโลภะ อโทสะ โมหะ แรงกล้า แต่มีอโลภะ โทสะ อโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักได้ ชอบสบาย ไม่มักโกรธ แต่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

๔. ผู้ใดมีโลภะ โทสะ โมหะ แรงกล้า แต่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักได้ มีนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย และเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

๕. ผู้ใด มีอโลภะ โทสะ โมหะ แรงกล้า แต่มีโลภะ อโทสะ อโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมมักน้อย แต่เป็นคนฉุนเฉียว และเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

๖. ผู้ใด มีอโลภะ อโทสะ และโมหะ แรงกล้า แต่มีโลภะ โทสะ และอโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักน้อย ไม่มักโกรธ แต่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

๗. ผู้ใด มีอโลภะ โทสะ และอโมหะ แรงกล้า แต่มีโลภะ อโทสะ และโมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นคนมักน้อย มีนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย แต่เป็นคนมีปัญญาดี

๘. ผู้ใด มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ แรงกล้า แต่มีโลภะ โทสะ โมหะอ่อน ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้มักน้อย ไม่ฉุนเฉียว และมีปัญญาดี

บุคคลทั้งหลาย ย่อมมีความเป็นไปตามจริตอุปนิสัยที่ตนเองได้สั่งสมไว้ ซึ่งยากที่บุคคลจะรู้ได้ว่าสั่งสมไว้ตั้งแต่ชาติปางไหน เพราะวิบากทั้งหลาย เป็นอจินไตย อย่างหนึ่ง คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดค้นหาสาเหตุให้มากจนเกินวิสัยของตน เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า และอาจเกิดจิตวิปลาสได้ ทำให้ได้รับความทุกข์ยากลำบากอย่างสาหัสก็ได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |