| |
ประเภทของรสะ   |  

อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี อดีตประธานมูลนิธิแนบ มหานีรานนท์รุ.๒๒๔ ได้แสดงประเภทของคำว่า รสะ ไว้ดังต่อไปนี้

คำว่า รสะ นี้ ใช้ในความหมาย ๔ ประการ คือ

๑. ธรรมรส หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุ คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม ได้แก่ มัคคจิตตุปบาท ๔ โลกียกุศลจิต ๑๗ อกุศลจิต ๑๒ พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบกับกุศลจิตและอกุศลจิตเหล่านั้นด้วย [คำว่า “ธรรม” หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวเหตุ]

๒. อรรถรส หมายถึง ธรรมที่เป็นผลของกุศลธรรม อกุศลธรรม ได้แก่ ผลจิตตุปบาท ๔ โลกียวิบากจิต ๓๒ พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบกับวิบากจิตเหล่านั้นด้วย [คำว่า “อรรถ” หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวผล]

๓. วิมุตติรส หมายถึง รสแห่งความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ได้แก่ พระนิพพาน ซึ่งเป็นรสอันเลิศกว่ารสทั้งปวง

๔. อายตนรส หมายถึง อายตนะอันเป็นตัวรส ได้แก่ รสารมณ์ หมายถึง รสต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่ชิวหาทวารวิถีหรือชิวหาทวาริกจิต ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] ซึ่งเมื่อประมวลรสต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว ย่อมมี ๖ อย่างด้วยกัน ได้แก่

[๑] อัมพิละ รสเปรี้ยว

[๒] มธุรส รสหวาน

[๓] โลณิกะ รสเค็,

[๔] กุฏกะ รสเผ็ด

[๕] ติตตะ รสขม

[๖] กสาวะ รสฝาด


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |