| |
วิชชา ๘ ประการ   |  

[ปัญญาที่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง]

๑. ทุกเข ญาณัง ความรู้ในทุกข์

๒. ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา

๓. ทุกขะนิโรเธ ญาณัง ความรู้ในความดับแห่งทุกข์ คือ นิพพาน

๔. ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทายะ ญาณัง ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ ๘

๕. ปุพพันเต ญาณัง ความรู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต

๖. อะปะรันเต ญาณัง ความรู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต

๗. ปุพพันตาปะรันเต ญาณัง ความรู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นทั้งอดีตและอนาคต

๘. อิทัปปัจจะยะตา ปะฏิจจะสะมุปปันเนสุ ธัมเมสุ ญาณัง ความรู้ใน ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เกี่ยวเนื่องโดยความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ประดุจลูกโซ่


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |