ไปยังหน้า : |
๑. ตนดีกว่าเขา ถือตัวว่า ดีกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ดีกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เราดีกว่าเขา หรือ เราเหนือกว่าคนอื่น ไม่มีใครสู้ได้” ดังนี้ก็จัดเป็นมานะ
๒. ตนดีกว่าเขา ถือตัวว่า เสมอเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ดีกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เรากับเขา ก็เหมือนกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๓. ตนดีกว่าเขา ถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะการศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ดีกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เรามันต่ำต้อยด้อยกว่าเขา หรือเลวทรามยิ่งกว่าเขาเสียอีก คงเทียบกันไม่ได้หรอก” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๔. ตนเสมอเขา ถือตัวว่า ดีกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น เท่าเทียมกับบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลนั้นขึ้นว่า “เราดีกว่าเขา เรามันแน่กว่าใคร ไม่มีใครสู้เราได้” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๕. ตนเสมอเขา ถือตัวว่า เสมอเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น เท่าเทียมกับบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เราก็ไม่ต่างอะไรจากเขา มีสองมือสองเท้าเหมือนกัน ไม่มีใครดีไปกว่าใคร หรือไม่มีใครเลวไปกว่าใคร” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๖. ตนเสมอเขา ถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น เท่าเทียมกับบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เรามันด้อยกว่าเขา ไม่มีทางไปสู้กับเขาได้หรอก” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๗. ตนด้อยกว่าเขา ถือตัวว่า ดีกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การ ศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ด้อยกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เราดีกว่าเขา เราแน่กว่าใคร ไม่มีใครสู้เราได้” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๘. ตนด้อยกว่าเขา ถือตัวว่า เสมอเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะการศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ด้อยกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เรากับเขา ก็ไม่มีใครดีไปกว่าใคร หรือไม่มีใครเลวไปกว่าใครหรอก” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
๙. ตนด้อยกว่าเขา ถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา หมายความว่า ตนเองมีฐานะ การ ศึกษา และคุณธรรม เป็นต้น ด้อยกว่าบุคคลอื่น แล้วเกิดการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นขึ้นว่า “เรามันระดับชั้นต่ำต้อย ไม่มีทางไปสู้เขาได้หรอก” ดังนี้เป็นต้น ก็จัดเป็นมานะ
เมื่อบุคคลมีความถือตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๙ อย่างนี้ ชื่อว่า มีมานะ ซึ่งเกิดพร้อมด้วยทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง ตามสมควรแก่เหตุปัจจัยนั้น ๆ อนึ่ง มานะนี้ ต้องมีการเปรียบเทียบกันระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น แล้วเกิดความเย่อหยิ่งถือตัว และยึดมั่นในความคิดนั้นไว้ จึงจะจัดเป็นมานะ เจ.๑๖