| |
ความหมายของกลาป   |  

คำว่า กลาป แปลว่า หมวด หมู่ มัด กลุ่ม กอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น คำว่า รูปกลาป จึงหมายถึง รูปที่เป็นหมวด เป็นหมู่ หรือเป็นกลุ่มกอง เป็นต้น

รูปกลาปนัย หมายถึง นัยที่แสดงถึงการเกิดขึ้นเป็นกลุ่มกองหรือเป็นหมวดหมู่ของรูปธรรมทั้งหลาย

ในปรมัตถทีปนีฎีกาแสดงว่า “กลาปิยนฺติ เอตฺถาติ กลาปารุ.๖๓๓ฯ” แปลความว่า ธรรมชาติที่นับเป็นหมวดหมู่ เป็นกลุ่มกอง หรือเป็นคณะ ชื่อว่า กลาป เพราะฉะนั้น รูปกลาป จึงหมายถึง รูปที่เกิดขึ้นเป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นกลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นคณะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บรรดารูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นหมวดหมู่ เป็นกลุ่มกอง ส่วนรูปที่จะเกิดขึ้นตามลำพังรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะนั้นไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ ในรูปกลาปหนึ่ง จะต้องมีความเป็นไปของกลุ่มรูปที่พร้อมเพรียงกัน เรียกว่า สหวุตติ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “เอกุปฺปาท เอกนิโรธ เอกนิสฺสยา สหวุตฺติโน เตวีสติ รูปกลาปา นาม ฯ” แปลความว่า รูปที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีที่อาศัยร่วมกัน รวมองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการนี้ ชื่อว่า รูปกลาป มีจำนวน ๒๓ กลาป


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |