| |
สักกายทิฏฐิสูตร   |  

สักกายทิฏฐิสูตร

[ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ]

ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู รู้เห็นจมูก รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฏฐิได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |