| |
โทษของการพูดมาก ๕ ประการ   |  

ในพหุภาณิสูตร ปัญจมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงโทษของการพูดมากเกินประมาณและเกินขอบเขตไว้ ๕ ประการรุ.๓๗๘ คือ

๑. มุสา ภณติ เป็นเหตุให้พูดเท็จ

๒. ปิสุณํ ภณติ เป็นเหตุให้พูดส่อเสียด

๓. ผรุสํ ภณติ เป็นเหตุให้พูดคำหยาบ

๔. สมฺผปฺปลาปํ ภณติ เป็นเหตุให้พูดเพ้อเจ้อ

๕. กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ นิรยํ อุปฺปชฺชติ เป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว

[ส่วนอานิสงส์ของการพูดแต่พอดี มี ๕ ประการ ซึ่งตรงกันข้ามจากโทษของการพูดมากทั้ง ๕ ประการนี้]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |