| |
อัปปมัญญา ๔   |  

๑. เมตตา องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก มีอารมณ์เป็นปิยมนาปสัตวบัญญัติ คือ บุคคลหรือสัตว์ผู้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่โปรดปราน

๒. กรุณา องค์ธรรมได้แก่ กรุณาเจตสิก มีอารมณ์เป็นทุกขิตสัตวบัญญัติ คือ บุคคลหรือสัตว์ที่กำลังได้ประสบกับความทุกข์ หรือจะได้ประสบกับความทุกข์ในโอกาสข้างหน้า โดยสามารถคาดคะเนได้

๓. มุทิตา องค์ธรรมได้แก่ มุทิตาเจตสิก มีอารมณ์เป็นสุขิตสัตวบัญญัติ คือ บุคคลหรือสัตว์ที่กำลังประสบสุขอยู่ หรือจะได้รับความสุข ในกาลข้างหน้าอันสามารถคาดคะเนได้ โดยเป็นลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นต้น

๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีอารมณ์เป็นมัชฌัตตสัตวบัญญัติ คือ บุคคลหรือสัตว์ที่เป็นกลาง ๆ ไม่รัก ไม่เกลียด หรือผู้ที่ผ่านการพิจารณาวางใจโดยอัปปมัญญาทั้ง ๓ ข้างต้นมาแล้ว จึงวางใจเป็นอุเบกขาได้ในภายหลัง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |