| |
การเกิดขึ้นของปัญญา ๓ ประการ   |  

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การฟัง การอ่าน การท่องบ่นสาธยาย การสอบสวนทวนถาม

๒. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาตามที่ได้ยินได้ฟัง หรือ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ด้วยหลักการและเหตุผลแห่งธรรมนั้น ๆ หรือ ในความเป็นอยู่ ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีความเป็นอยู่และเป็นไปต่าง ๆ กัน เนื่องด้วยกรรมของแต่ละบุคคล หรือเทียบเคียงตามวัตถุและเหตุการณ์ เป็นต้น

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรม หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ได้แก่ สมถภาวนา คือ การเจริญสมาธิจนกระทั้งฌานจิตเกิด เรียกว่า ฌานสัมมาทิฏฐิ และวิปัสสนาภาวนา คือ การเจริญวิปัสสนา จนกระทั้งได้เห็นความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสามารถทำลายกิเลสที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นในความคิดความเห็นว่า เป็นตัว เป็นตน เสียได้ เรียกว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กระทั้งบรรลุถึงมัคคญาณ สามารถประหาณอนุสัยกิเลสได้เด็ดขาด ตามกำลังแห่งมรรคแต่ละชั้นเรียกว่า มัคคสัมมาทิฏฐิ ต่อไปด้วยผลญาณ เรียกว่า ผลสัมมาทิฏฐิ และจบลงด้วยปัจจเวกขณญาณ เรียกว่า ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |