| |
มหาภูตรูปจัดเป็นธาตุ ๔   |  

ในสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรครุ.๔๙ เป็นต้น ได้แสดงความหมายของคำว่า ธาตุ และการสงเคราะห์มหาภูตรูปลงในธาตุไว้ดังต่อไปนี้

คำว่า ธาตุ แปลว่า ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตนโดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังวจนัตถะ [คำจำกัดความ] แสดงว่า “อตฺตโน สภาวํ ธาเรนฺตีติ ธาตุโย” แปลความว่า ธรรมชาติเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน เพราะฉะนั้น ธรรมชาติเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธาตุ ฯ มหาภูตรูป ๔ ก็จัดเป็นธาตุเหมือนกัน เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะของตนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหน เมื่อไร หรือเกิดในภพภูมิใดก็ตาม ย่อมมีสภาวะลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ

๑. ปถวีธาตุ ธาตุดิน มีลักษณะแข้นแข็งหรืออ่อน [คือแข็งน้อย]

๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ มีลักษณะเอิบอาบ [ไหลหรือเกาะกุม]

๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนหรือเย็น

๔. วาโยธาตุ ธาตุลม มีลักษณะพัดผันไปมา [ทำให้หย่อนหรือตึง]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |