| |
ความสันโดษ ๓ ประการ   |  

๑. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามมีตามได้ ด้วยเรี่ยวแรงของตนในทางชอบธรรม ไม่ดิ้นรนอยากได้จนทำให้เกิดความเดือดร้อน

๒. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลังความสามารถ ใช้กำลังที่มีอยู่ ได้แก่ กำลังความรู้ กำลังความสามารถ ให้เกิดผลอย่างเต็มที่ โดยไม่ย่อหย่อนหรือบกพร่อง

๓. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควรแก่ฐานะ คือ ยินดีพอใจแต่ไม่ให้เกินเลย รู้จักพอเป็นอิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควร

ความสันโดษ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอดีในชีวิตประจำวัน ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อเกินไป ไม่ฟืดเคืองจนเกินไป ไม่ฟุ้งซ่านจนเกิดความเดือดร้อน เป็นต้น เป็นแนวปฏิบัติสายกลาง เพื่อให้ชีวิตมีความอิ่ม ไม่พร่อง อันเป็นเหตุให้มีความสุขดังคำกล่าวที่ว่า “รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน

ความสันโดษนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็คือ ความยินดีพอใจในปัจจัย ๔ ได้แก่ ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ที่เป็นไปเพียงเพื่อการดำรงชีพอย่างผาสุกตามสมควรแก่ฐานะและตามสมควรแก่อัตภาพ ซึ่งเป็นสภาวธรรมของอโลภเจตสิกที่เกิดพร้อมกับมหากุศลจิตและมหากิริยาจิต


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |