| |
อานิสงส์การกำหนดธาตุ ๔   |  

ก็แหละ พระโยคีบุคคลผู้หมั่นประกอบจตุธาตุววัตถานนี้ ย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นของเปล่า ย่อมเพิกถอนความสำคัญหมายว่าสัตว์ได้ พระโยคีบุคคลนั้นไม่ถึงความกำหนดแยกว่า เนื้อร้าย ยักษ์ และผีเสื้อน้ำ เป็นต้น เพราะเป็นผู้เพิกถอนสัตตสัญญาเสียได้ จึงเป็นผู้ทนต่อภัยอันน่ากลัว ทนต่อความยินดียินร้าย ไม่ถึงความสงบและความอึดอัดใจ ในเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ก็แลท่านย่อมเป็นผู้ที่มีปัญญามาก มีพระนิพพานเป็นที่สุด มิฉะนั้นก็เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า นักปราชญ์พึงส้องเสพธาตุววัตถาน ที่พระโยคีบุคคลผู้ประเสริฐเพียงดังสีหะเคยเล่นมาแล้ว อันมีอานุภาพมากอย่างนี้เป็นนิตย์เทอญรุ.๑๒๓


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |