| |
วิปากจิต   |  

คำว่า วิบาก มีคำจำกัดความหรือวจนัตถะแสดงว่า อัญญะมัญญะวิสิฏฐานัง กุสะลากุสะลานัง ปากาติ = วิปากา แปลความว่า ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นผลของกุศลและอกุศลที่พิเศษกว่ากันและกัน ชื่อว่า วิบาก

ผลที่พิเศษกว่ากันและกันนั้น หมายความว่า กุศลให้ผลเป็นความดี เรียกว่า อิฏฐผล แปลว่า ผลอันน่าปรารถนาน่าปลื้มใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางทวาร ๖ ส่วนอกุศลนั้นให้ผลเป็นความไม่ดี เรียกว่า อนิฏฐผล แปลว่า ผลอันไม่น่าปรารถนาไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นทางทวาร ๖


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |