| |
สังฆานุสสติ   |  

สังฆานุสสติ หมายถึง การตามระลึกถึงพระสังฆคุณทั้งหลายอยู่เนือง ๆ เพื่อทำให้จิตสงบ ซึ่งได้แก่ การระลึกถึงพระสังฆคุณทั้ง ๙ ประการที่มีความลึกซึ้งและกว้างขวางด้วยพระคุณต่าง ๆ ดังนี้

๑. สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติดีแล้ว

๒. อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติตรงแล้ว

๓. ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

๔. สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติสมควรแล้ว

๕. อาหุเนยโย เป็นพระสงฆ์ที่ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

๖. ปาหุเนยโย เป็นพระสงฆ์ที่ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

๗. ทักขิเณยโย เป็นพระสงฆ์ที่ควรรับทักษิณาทาน

๘. อัญชะลีกะระณีโย เป็นพระสงฆ์ที่ควรแก่การทำอัญชลี

๙. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นพระสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญของสัตว์โลก ไม่มีนาบุญอย่างอื่นที่จะดียิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |