| |
การมนสิการในอานาปานสติ   |  

๑. คณนานัย การนับลมหายใจเข้า-ออกเป็นหมวด ๆ มี ๖ หมวด ตั้งแต่หมวด ๕ [ปัญจกะ] ถึง หมวด ๑๐ [ทสกะ]

๒. อนุพันธนานัย การกำหนดรู้ตามลมหายใจเข้า-ออกทุก ๆ ขณะ โดยไม่พลั้งเผลอ

๓. ผุสนานัย การกำหนดรู้ที่ลมกระทบ ขณะกำหนดรู้ตามคณนานัย และอนุพันธนานัย คือ ขณะที่นับลมและตามลมอยู่นั้น มีความรู้อยู่ที่ลมกระทบด้วย

๔. ฐปนานัย การกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก โดยอนุพันธนานัย กับ ผุสนานัย ที่เป็นไปอยู่นั้น ครั้นปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตย่อมเปลี่ยนจากการกำหนดรู้การกระทบของลม แล้วเข้าไปตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิตอย่างเดียว จนกระทั่งรูปฌานเกิดขึ้น ฐปนานัย จึงหมายเอา อัปปนา

คณนานัย มี ๒ อย่าง

๑. ธัญญมามกคณนานัย นัยที่เปรียบเหมือนคนตวงข้าวเปลือก คือ นับแบบช้า ๆ และชัดเจน เช่น หายใจเข้า นับ ๑ หายใจออก นับ ๑

๒. โคปาลกคณนานัย นัยที่เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคนับจำนวนโคที่ออกจากคอก โดยการนับเร็ว ๆ เช่น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ , ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ , ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ เป็นต้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |