| |
วจนัตถะ [คำจำกัดความ] ของปสาทรูป   |  

คณาจารย์อภิธรรมในประเทศไทย มีพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ เป็นต้นรุ.๑๓๐ ได้แสดงวจนัตถะของปสาทรูปไว้ดังต่อไปนี้

ปสาทรูป หมายถึ รูปที่มีความใสสามารถรับกระทบกับอารมณ์ได้ มีวจนัตถะแสดงว่า “ปสีทตีติ = ปสาโท” แปลความว่า รูปใดมีความใส สามารถรับกระทบกับอารมณ์ได้ เพราะเหตุนั้น รูปนั้น ชื่อว่า ปสาทรูป มี ๕ อย่าง คือ

๑. จักขุปสาทรูป ความใสที่สามารถรับกระทบกับรูปารมณ์ คือ สีต่าง ๆ ได้

๒. โสตปสาทรูป ความใสที่สามารถรับกระทบกับสัททารมณ์คือเสียงต่าง ๆ ได้

๓. ฆานปสาทรูป ความใสที่สามารถรับกระทบกับคันธารมณ์คือกลิ่นต่าง ๆ ได้

๔. ชิวหาปสาทรูป ความใสที่สามารถรับกระทบกับรสารมณ์ คือ รสต่าง ๆ ได้

๕. กายปสาทรูป ความใสที่สามารถรับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ คือ การกระทบสัมผัสต่าง ๆ ทางกายได้

ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว สามารถรับกระทบกับอารมณ์ได้ และสามารถให้สำเร็จกิจเป็นกุศลหรืออกุศลได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |