| |
ความหมายของจิต   |  

จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ดังวจนัตถะแสดงว่า “อารมฺมณํ จินฺเตตีติ = จิตฺตํ” แปลความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต หมายความว่า เป็นธรรมชาติที่ได้รับอารมณ์อยู่เสมอทางทวาร ๖ คือ รับรู้รูปารมณ์คือสีต่าง ๆ [รูป]ทางจักขุทวาร รับรู้สัททารมณ์คือเสียงทางโสตทวาร รับรู้คันธารมณ์คือกลิ่นทางฆานทวาร รับรู้ รสารมณ์คือรสทางชิวหาทวาร รับรู้โผฏฐัพพารมณ์คือการกระทบสัมผัสทางกายทวาร และรับรู้ธัมมารมณ์คือความรู้นึกคิดทางมโนทวาร เหล่านี้จึงเป็นความหมายของจิต ที่ชื่อว่า รู้อารมณ์ ซึ่งมุ่งหมายถึงเพียงการรู้แบบธรรมดาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรู้ที่พิเศษพิสดารอะไร ส่วนการรู้แบบพิเศษพิสดารนั้น เป็นการรู้ด้วยธรรมอย่างอื่นเป็นประธาน คือ รู้ด้วยสัญญาและรู้ด้วยปัญญา ฉะนั้น เมื่อสรุปแล้ว ความรู้จึงมี ๓ ประเภท คือ รู้แบบสัญญารู้ รู้แบบปัญญารู้และรู้แบบวิญญาณรู้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |