| |
กาม ๒ อย่าง   |  

คำว่า กาม หมายถึง ความใคร่ ความยินดีความติดใจเป็นต้นมี ๒ ประการ คือ

๑. กิเลสกาม หมายถึง สภาพที่เป็นตัวปรารถนา ตัวใคร่ ตัวกำหนัดยินดี เพลิดเพลินในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ที่เป็นกามธรรม อันได้แก่ อกุศลเจตสิกทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ที่เป็นองค์ธรรมของกิเลสกาม และอิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ มิทธะ ที่นับเนื่องในจำพวกกิเลสกามนั้นด้วย ซึ่งมีความยึดมั่นในกามคุณอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และความคิดนึกถึงอารมณ์เหล่านั้น ทำให้เกิดความกำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง อยู่เป็นประจำ

๒. วัตถุกาม หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ให้กามตัณหาเข้าไปยึดหน่วงไว้ อันได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ เจตสิกที่ประกอบ ๕๒ และรูป ๒๘ กล่าวคือ รูป [สีต่าง ๆ] เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่คิดนึกถึง ซึ่งเป็นสิ่งอันน่าใคร่น่าปรารถนา น่าชอบใจ ของกามตัณหานั่นเอง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |