| |
อุปสมานุสสติ   |  

อุปสมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงคุณบทของพระนิพพานที่มีสภาพสงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ อันเป็นเครื่องสำรอกกิเลสตัณหาราคะทั้งปวงให้หมดไปจากจิตใจของสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติมุ่งความบริสุทธิ์

ลักษณะแห่งพระนิพพาน ๑๐ ประการ

๑. นะ ชายะติ สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีความเกิด

๒. นะ ชียะติ สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีความแก่

๓. นะ มียะติ สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีความตาย [ความดับ]

๔. นะ จะวะติ สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีความเคลื่อน [จุติ]

๕. นะ อุปปัชชะติ สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีการอุบัติ

๖. ทุปปะสะหัง สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีใครข่มเหงได้

๗. อะโจระหะระณัง สภาพของพระนิพพานนั้นโจรลักขโมยไปไม่ได้

๘. อะนิสสิตัง สภาพของพระนิพพานนั้นสัตว์อาศัยอยู่ไม่ได้

๙. นิราวะระณัง สภาพของพระนิพพานนั้นไม่มีอะไรขวางกั้น

๑๐. อะนันตัง สภาพของพระนิพพานนั้นกว้างขวางไม่มีที่สุด


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |