| |
มิจฉัตตะ ๑๐ ประการ   |  

มิจฉัตตะ หมายถึง สภาวะที่ผิดจากหลักทำนองคลองธรรมอันดีงาม ได้แก่ ข้อวัตรปฏิบัติและความคิดความเห็นที่ผิดไปจากหลักวัฒนธรรมประเพณี กฎกติกาอันดีงามของสังคม ผิดจากกฎหมายจารีตประเพณีและศีลธรรมทางศาสนาที่ถูกต้องซึ่งมุ่งหมายให้เกิดสันติภาพ ความเป็นไปผิดเหล่านี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเป็นสภาวะของทิฏฐิเจตสิกเป็นใหญ่เป็นประธาน มี ๑๐ ประการ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

๒. มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด

๓. มิจฉาวาจา การพูดผิด

๔. มิจฉากัมมันตะ การทำการงานที่ผิด

๕. มิจฉาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางที่ผิด

๖. มิจฉาวายามะ ความพยายามในทางที่ผิด

๗. มิจฉาสติ ความระลึกไปในทางที่ผิด

๘. มิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นในทางที่ผิด

๙. มิจฉาญาณะ ความรู้ในทางที่ผิด

๑๐. มิจฉาวิมุตติ ความเข้าใจผิดว่าหลุดพ้นแล้ว

มิจฉัตตธรรม ๑๐ ประการนี้ มีสภาพตรงกันข้ามกับสัมมัตตะ ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นไปโดยชอบ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

บุคคลผู้มีมิจฉัตตะ ๑๐ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ดี ย่อมเป็นผู้พลาดจากสวรรค์และมรรคผลนิพพาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |