| |
อานิสงส์แห่งการเว้นจากปาณาติบาต ๒๓ ประการ   |  

๑. อังคะปัจจังคะสัมปันนะตา ทำให้มีอวัยวะสมบูรณ์ไม่พิกลพิการ

๒. อาโรหะปะริณาหะสัมปัตติตา มีลักษณะสูงใหญ่สมส่วน

๓. ชะวะสัมปัตติตา มีความปราดเปรียวว่องไว

๔. สุปปะติฏฐิตะปาทะตา เวลาเดินเป็นผู้ที่วางเท้าได้อย่างมั่นใจ

๕. จารุตา มีรูปร่างที่มีเสน่ห์

๖. มุทุตา มีรูปร่างหน้าตาอ่อนกว่าวัย

๗. สุจิตา มีกาย วาจา ใจสะอาด

๘. สูระตา มีความกล้าหาญ

๙. มะหัพพะละตา มีกำลังแข็งแรง

๑๐. วิสสัตถะวะจะนะตา พูดจาได้สละสลวยไม่เคอะเขิน

๑๑. โลกะปิยะตา เป็นที่รักของชาวโลก

๑๒. เนละตา เป็นผู้มีความสุภาพอ่อนโยน

๑๓. อะเภชชะปะริสะตา มีบริวารที่จงรักภักดี

๑๔. อัจฉัมภิตา ไม่สะดุ้งกลัวอะไรง่าย

๑๕. ทุปปะธังสิตา ศัตรูไม่สามารถทำอันตรายได้

๑๖. ปะรูปักกะเมนามะระณะตา ไม่ถูกฆ่าตาย

๑๗. อะนันตะปะริวาระตา เป็นผู้ที่มีบริวารมาก

๑๘. สุรูปะตา เป็นผู้มีรูปร่างงดงามน่าทัศนา

๑๙. สุสัณฐานะตา เป็นผู้มีทรวดทรงงดงาม [หุ่นดี]

๒๐. อัปปาพาธะตา มีอาพาธความป่วยไข้น้อย

๒๑. อโสกิตา เป็นผู้มีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

๒๒. ปิเยหิ อะวิปปะโยคะตา เป็นผู้ไม่ต้องพลัดพรากจากของรัก

๒๓. ทีฆายุกะตา เป็นผู้มีอายุยืนเกินอายุขัย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |