| |
ธาตุ ๑๘   |  

ธาตุ หมายถึง ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงสภาวะไปเป็นอย่างอื่น แม้โลกและสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป หรือสมมติเรียกขานแตกต่างกันไปอย่างไรก็ตาม แต่สภาวะของธรรมเหล่านั้น ก็ยังทรงอยู่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธาตุ มี ๑๘ ประการ คือ

๑. จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุปสาทรูป จัดเป็น รูป
๒. โสตธาตุ ได้แก่ โสตปสาทรูป จัดเป็น รูป
๓. ฆานธาตุ ได้แก่ ฆานปสาทรูป จัดเป็น รูป
๔. ชิวหาธาตุ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป จัดเป็น รูป
๕. กายธาตุ ได้แก่ กายปสาทรูป จัดเป็น รูป
๖. รูปธาตุ ได้แก่ วัณณรูป คือ สีต่าง ๆ จัดเป็น รูป
๗. สัททธาตุ ได้แก่ สัททรูป คือ เสียงต่าง ๆ จัดเป็น รูป
๘. คันธธาตุ ได้แก่ คันธรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ จัดเป็น รูป
๙. รสธาตุ ได้แก่ รสรูป คือ รสต่าง ๆ จัดเป็น รูป
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ ได้แก่ ปถวี เตโช วาโย จัดเป็น รูป
๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๖. มโนธาตุ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ จัดเป็น นาม
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ จิต ๗๖ ดวง จัดเป็น นาม
[เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ และมโนธาตุ ๓]
๑๘. ธัมมธาตุ ได้แก่ เจตสิก ๕๒ นิพพาน จัดเป็น นาม
สุขุมรูป ๑๖ จัดเป็น รูป


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |