| |
ทุกข์ ๑๐ ประการ   |  

๑. สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ

๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

๓. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ เป็นต้น

๔. พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะป่วยไข้ คือ ทุกขเวทนามีประเภทต่าง ๆ ตามสมุฏฐาน มีอวัยวะไม่ทำหน้าที่ตามปกติ เป็นต้น

๕. สันตาปทุกข์ ทุกข์เพราะความเร่าร้อน คือ ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟคือกิเลสแผดเผา

๖. วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม ได้แก่ วิปปฏิสารคือความเดือดร้อนใจ อันเป็นผลของกรรมที่ตนกระทำไว้

๗. สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับกัน ได้แก่ ความทุกข์ที่เนื่องมาจากวิบูลยผล คือ ความทุกข์ที่เกิดจากการได้รับสิ่งที่ดีแล้วเกิดติดใจหลงใหล เมื่อสิ่งนั้นแปรเปลี่ยนดับไป ย่อมเกิดความทุกข์

๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ในการแสวงหาอาหาร ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เพราะการหาเลี้ยงชีพ

๙. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เพราะการทะเลาะวิวาทเป็นมูล ได้แก่ ความไม่ปลอดโปร่งใจ ความกลัวต่อการพ่ายแพ้แก่ศัตรู ความหวาดหวั่นต่อศัตรู เป็นต้น

๑๐. ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอด หมายเอาสังขารคือที่รวมแห่งเบญจขันธ์นั้นเป็นที่ประชุมลงแห่งกองทุกข์ทั้งปวง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |