| |
การเกิดขึ้นของปัญญา ๓ ประการ   |  

๑. สุตมยปัญญา หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การฟัง การอ่าน การท่องบ่นสาธยาย การสอบสวนทวนถาม การบอกการสอน เป็นต้น

๒. จินตามยปัญญา หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาให้เกิดองค์ความรู้ขึ้นมา ตามที่ได้ยินได้ฟัง หรือ ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้อ่าน ได้ท่องบ่นสาธยาย ได้สอบสวนทวนถาม ได้บอกได้สอน เป็นต้น โดยอาศัยหลักการและเหตุผลแห่งธรรมนั้น ๆ เป็นมาตรฐานในการคิดพิจารณา หรือ อาศัยวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ อันเนื่องมาจากกรรมของแต่ละบุคคล หรืออนุมานเทียบเคียงตามเรื่องราวและเหตุการณ์ เป็นต้น ที่ประสบพบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

๓. ภาวนามยปัญญา หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการอบรมเจริญภาวนา ได้แก่ การเจริญสมถภาวนาจนสามารถเห็นแนวทางดำเนินไปสู่สมาธิอันประณีตยิ่งขึ้นโดยลำดับและสามารถทำฌานให้เกิดขึ้นได้ หรือด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามารถทำลายกิเลสที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเห็นว่า เป็นตัว เป็นตน เสียได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |