| |
แสดงความเจริญของรูปตั้งแต่ปฏิสนธิกาลของคัพภเสยยกะกำเนิด   |  

ความเจริญแห่งรูปธรรมของสัตว์จำพวกคัพภเสยยกะกำเนิด ตั้งแต่ปฏิสนธิกาลจนถึงมีอวัยวะครบบริบูรณ์นั้น ในสคาถวรรค ยักขสังยุตตบาลีรุ.๖๖๘ ได้แสดงไว้ว่า

ปมํ กลลํ โหติ    กลลา โหติ อพฺพุทํ
อพฺพุทา ชายเต เปสิ    เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ    เกสา โลมา นขาปิ จ ฯ

แปลความว่า

ในสัปดาห์แรกแห่งการปฏิสนธินั้น เกิดเป็น กลลรูป มีลักษณะเป็นหยาดน้ำใส เหมือนน้ำมันงารุ.๖๖๙

ในสัปดาห์ที่ ๒ เกิดเป็น อัพพุทรูป มีลักษณะเป็นฟองสีเหมือนน้ำล้างเนื้อรุ.๖๗๐

ในสัปดาห์ที่ ๓ เกิดเป็น เปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเนื้อที่เหลว ๆ สีแดง

ในสัปดาห์ที่ ๔ เกิดเป็น ฆนรูป มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่

ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดเป็น ปัญจสาขา คือ รูปนั้นแตกออกเป็น ๕ ปุ่มรุ.๖๗๑ คือ แขน ๒ ขา ๒ ศีรษะ ๑

ต่อจากนั้น ในสัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บเหล่านี้ก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้น

ข้อสังเกต.. รูปธรรมที่เกิดก่อนเป็นครั้งแรกในปฏิสนธิกาลนั้น ล้วนแต่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานทั้งสิ้น ที่เรียกว่า กัมมชกลาป ส่วนรูปที่เกิดจากสมุฏฐานอื่น คือ จิตตชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ในปฏิสนธิกาลนั้น รูปเหล่านี้ยังไม่เกิด แต่จะเริ่มปรากฏขึ้นใน ปวัตติกาล


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |