ไปยังหน้า : |
ในสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรครุ.๔๙ เป็นต้น ได้แสดงความหมายของคำว่า ธาตุ และการสงเคราะห์มหาภูตรูปลงในธาตุไว้ดังต่อไปนี้
คำว่า ธาตุ แปลว่า ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตนโดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังวจนัตถะ [คำจำกัดความ] แสดงว่า “อตฺตโน สภาวํ ธาเรนฺตีติ ธาตุโย” แปลความว่า ธรรมชาติเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน เพราะฉะนั้น ธรรมชาติเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธาตุ ฯ มหาภูตรูป ๔ ก็จัดเป็นธาตุเหมือนกัน เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะของตนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหน เมื่อไร หรือเกิดในภพภูมิใดก็ตาม ย่อมมีสภาวะลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ
๑. ปถวีธาตุ ธาตุดิน มีลักษณะแข้นแข็งหรืออ่อน [คือแข็งน้อย]
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ มีลักษณะเอิบอาบ [ไหลหรือเกาะกุม]
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนหรือเย็น
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม มีลักษณะพัดผันไปมา [ทำให้หย่อนหรือตึง]